การทดลองเล็กๆ เรื่องค่าคีโตน จากแผ่นวัดจากปัสสาวะ เทียบกับ วัดจากเลือด และ ภูมิต้านทานคาร์โปไฮเดรตของผู้ทดลองเอง

Posted by
การทดสอบค่าคีโตน วันที่ 14 ตค 2017 เวลา 11:38
จุดประสงค์ของการทดลอง: 
1. เพื่อต้องการทราบค่าคีโตนในกระแสเลือด จากเครื่องวัดค่าคีโตนรุ่น FreeStyle Optium Neo ที่จะได้ค่า beta hydroxybutyrate หน่วยเป็น mmol/L เทียบกับ แถบวัดคีโตนจากปัสสาวะยี้ห้อ Self-StIk ซึ่งจะวัดระดับของ acetoacetate ออกมาเป็นแถบสีได้
2. เพื่อทดสอบระดับ Carb tolerance ของตัวผู้ทดสอบ เนื่องจากได้ทาน ข้าวกล้อง ไรซ์เบอรรี่ ในวันที่ 13 ตค 2017 เวลาประมาณ 19:00 เข้าไปเป็นปริมาณ 150 กรัม ซึ่งมีจำนวน คาร์โปไฮเดรต 120 กรัม (ไฟเบอร์ 6 กรัม), ไขมัน 6 กรัม, โปรตีน 12 กรัม
3. ผู้ทดสอบได้ทำการฟาสติ้งต่อเนื่องหลังจากมื้ออาหาร แล้วตรวจวัดค่าคีโตน จาก อุปกรณ์การตรวจดังกล่าวในข้อที่ 1 เพื่อเปรียบเทียบ
Ketone bodies
ผลของการทดสอบอุปกรณ์:
  • ค่าที่ได้จาก Self-StIk จะได้สีชมพู ค่อนไปทางเข้ม อยู่ระว่างค่า ++ กับ +++
  • ค่าที่ได้จาก FreeStyle Optium Neo เท่ากับ 1.4 mmol/L

Ketone Oct 14 11.45

บทสรุปจากการทดสอบ:
  1. ได้เห็นถึงค่าแสดงแถบสีจากแผ่นตรวจปัสสาวะ เทียบกับ ค่าคีโตนที่มีอยู่ในกระแสเลือดอย่างชัดเจน ค่า 1.4 mmol/L ถือว่าอยู่ในช่วงที่มีค่าระหว่าง 0.5-1.5 mmol/l ซึ่งถือว่าอยู่ใน คีโตสีสแบบอ่อนๆ (light nutritional ketosis) ถ้าอยู่ในช่วงนี้จะถือว่าคุณจะได้รับประโยชน์ในเรื่องการเผาพลาญไขมัน แต่ยังไม่มีประสิทธิภาพเต็มที่ อ่านเพิ่มเติมในบทความก่อนหน้าที่พูดเรื่องนี้ได้ที่: https://goo.gl/n7MV1g
  2. การกินคาร์โบไฮเดรตในมื้อก่อนหน้านี้เป็นประมาณ Carb 120g แล้วทำการฟาสติ้งเป็นเวลาประมาณ 16 ชั่วโมง ร่างกายของผู้ทำการทดสอบยังอยู่ในคีโตสีส

คำแนะนำสำหรับผู้อ่านการทดลองนี้:

เป็นการทดลองด้วยตนเอง N=1 experiment ผลที่ได้อาจจะไม่ได้เป็นบทสรุปสำหรับทุกคนในบางเรื่อง เช่น

  • เรื่องของ carb tolerance
    • ถ้าต้องการทราบค่านี้ของตนเอง ต้องเป็นผู้ที่ปรับร่างกายมาใช้ไขมันเป็นพลังงานแล้ว หรือ Fat Adapted
    • ทำการทดสอบด้วยการรับประทาน carb แล้วบันทึกปริมาณเอาไว้
    • ทำการตรวจวัดค่าคีโตน โดยทางเลือด หรือ ทางปัสสาวะ ถ้าค่าคีโตนจากเลือดลดเหลือต่ำ 0 – 0.3 mmol/L หรือ การแสดงบนแถบสีตรวจปัสสาวะเป็นค่า Negative แสดงว่า เราได้หลุดจากโหมดคีโตสีส
    •        ค่าภูมิต้านทาน Carb tolerance ของแต่ละคนจะไม่เท่ากัน บางคนอาจรับได้ 50g หรือ จะได้ถึงระดับเกินกว่า 100g ขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายและสุขภาพโดยรวมของแต่ละคน ถ้าสุขภาพโดยรวมดี ไม่มีแนวโน้มที่จะเป็นโรคเบาหวาน หรือ Insulin resistant ก็สามารถที่จะมีภูมิต้านทานในการกินคาร์โปไฮเดรตได้มากกว่า และจะดีมาก ถ้าเราทราบระดับของตัวเอง
    • ผู้ทดสอบไม่ได้วัดค่าหลังกินทันที แต่มั่นใจว่าหลุดคีโตสีสแน่นอน ประเด็นคือ มันจะกลับมาได้ไวขนาดไหน
  • ค่าแสดงแถบสี เอาไว้ใช้เป็นแบบอ้างอิงในการใช้ได้ดีในอนาคต เมื่อเทียบกับค่าที่ได้จากการวัดค่าคีโตนจากกระแสเลือด ตอนนี้ผมก็จะทราบว่า สีประมาณนี้ จะเท่ากับค่าคีโตนที่ 1.4 mmol/L

ขอบคุณที่ติดตามอ่านนะครับ

NuEnG KetoDaddy

Reference link:

Beta-Hydroxybutyrate (BHB): What it Is & Why It’s The Cleanest Fuel For Your Body

 

Leave a Reply

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  Change )

Twitter picture

You are commenting using your Twitter account. Log Out /  Change )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  Change )

Connecting to %s