แปลจากบทความ To Help Children Sleep, Go Dark ของ Perri Klass, M.D. The New York Times March 5, 2018
การที่เด็กเพ่งมองหน้าจออิเล็กทรอนิคหรือแสงเทียม ที่มีแสงสีน้ำเงิน เท่ากับ การทำลาย เมลานอฟซิน (Melanopsin – เป็น เซลล์ประสาทไวแสงที่มีสารรงควัตถุไวแสง หรือ เมลาโทนิน ) และ ทำลายจอประสาทตา (Retinal) ทำให้เด็ก ซึ่งมีนาฬิกาชีวิตที่ต้องการการพักผ่อนที่ยาวนานกว่าผู้ใหญ่ มีความเสี่ยงต่อการนอนไม่หลับ
อ้างถึงการวิจัย ใน The journal Physiological Reports ซึ่งมีการวัดระดับค่าของ เมลาโทนิน (ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่จะถูกหลั่งออกมาเพื่อทำให้เราเข้าสู่การนอนหลับ) ในกลุ่มของเด็กจำนวน 10 คน ซึ่งมีอายุอยู่ในช่วง 3-5 ขวบ. ซึ่งในการทดลอง เค้าจะให้เด็กนอนในเวลาปรกติของเด็กแต่ละคน เป็นระยะเวลา 5 วัน โดยจะมีการตรวจค่าเมลาโทนิน จากการตรวจจากน้ำลาย หลายครั้งระหว่างแต่ละช่วงเวลา เพื่อนำมาหาค่า baseline ของเมลาโทนิน ในเด็กแต่ละคน… และในวันที่ 6 จะให้ปรับสภาพแวดล้อม ให้เด็กอยู่ในห้องที่ค่อนข้างมีแสงน้อย ปิดหน้าต่างด้วยแผ่นพลาสติกสีดำทึบ และเปลี่ยนหลอดไฟในห้องเป็นแบบ วัตต์น้อย และ คณะวิจัยก็ทำการตรวจวัดระดับของเมลาโทนิน อย่างต่อเนื่อง
Lameese D. Akacem, อาจารย์ที่ the University of Colorado, Boulder ผู้เป็นหัวหน้าการทดลอง กล่าวว่า ในวันที่ให้เด็กอยู่ในห้องที่มีแสงน้อยตลอดวัน เราได้ทำการตรวจและบันทึกระดับเมลาโทนนินเอาไว้ และได้ทำการทดสอบต่อ ซึ่งในวันถัดไป ให้เด็กได้เล่นอยู่ในสภาพแสงจ้าก่อนที่จะเข้านอนเป็นเวลา 1 ชั่วโมง โดยใช้ Light table ที่เป็นโต๊ะกระจกที่มีแสงไฟสว่างจากด้านใน
Dr. Monique LeBourgeois (an associate professor of integrative physiology at University of Colorado, Boulder, and the director of the sleep and development lab), หนึ่งในผู้ช่วยการวิจัย
ได้กล่าวไว้ว่า เราได้พบว่า ระดับเมลาโทนิน จะตกลงมากถึง 90% โดยที่เด็กจะมีอาการหลับยาก ไม่ยอมนอน และ มีพฤติกรรมที่ต้องการจะออกมาที่ห้องของพ่อแม่ ที่มีแสงสว่างมากกว่า เด็กที่โดนแสงสว่างก่อนนอน แม้จะโดนในระยะเวลาสั้นๆ ก็ทำให้การหลั่งเมลาโทนิน หยุดลง (shut down) และมีผลกระทบโดยตรงต่อ การเข้าสู่โหมดการนอนหลับ
เวลาเข้านอนเฉลี่ยของเด็กกลุ่มนี้ จะอยู่ที่เวลา 20:27 โดยที่ในห้องแสงน้อย นักวิจัยพบว่า เด็กจะเริ่มมีการหลั่งสารเมลาโทนิน เฉลี่ยที่ตอนเวลา 19:47 ซึ่งถือว่าเป็นการเริ่มเข้าสู่ช่วงเวลากลางคืนของร่างกาย (biological night)
ในวันที่ให้เด็กเล่นบนโต๊ะแสงสว่าง พบว่า ระดับเมลาโทนิน ตกลงถึง 90% ถึงแม้ว่า จะนำเด็กกลับเข้าไปในห้องแสงน้อยเป็นเวลานานถึง 50 นาทีหลังจากนั้น ระดับเมลาโทนินก็ยังกลับมาไม่ถึง 50% ของระดับปรกติที่ควรจะเป็น เมื่อเทียบกับวันก่อนหน้านั้น
การหลั่งเมลาโทนิน โดยปรกติจะต่ำในช่วงระหว่างวัน และ จะสูงขึ้นในตอนเย็นเพื่อปรับนาฬิกาชีวิตเป็นการเตรียมร่างกายให้เข้าสู่การนอน โดยที่เมลาโทนิน เกิดที่ ต่อมไพเนียล (Pineal gland) ซึ่งอยู่ระหว่างซีกสมองทั้งสองข้าง ซึ่งจะมีระบบประสาทติดต่อกับการทำงานของ นาฬิกาชีวิต (circadian clock) ที่เกิดจาก SCN (Suprachiasmatic nucleus) ที่อยู่ภายในต่อม ไฮโปทาลามัส (Hypothalamus) ซึ่งหัวใจสำคัญในการควบคุมการทำงานจะเกิดจากปริมาณของแสงที่เข้ามาทาง เรติน่า (Retina) ก็คือจอประสาทตาของเรานั้นเอง
เลนส์แก้วตา (Lens) ในเด็ก จะใสกว่าและมีรูม่านตา (pupil) ที่ใหญ่กว่า ซึ่งทำให้แสงเข้าไปกระทบกับจอประสาทตา (Retina) ได้มากกว่า. ดร Akacem ได้บอกว่า เมื่อเราอายุมากขึ้น เราจะมีการสะสมเยื่อโปรตีนในเลนส์แก้วตา ทำให้ผู้ใหญ่เมื่อมีอายุถึงประมาณ 40 ปี แสงจะผ่านเข้ามายังจอตา ได้น้อยลงนิดหน่อย
Dr. Judith Owens, ผู้อำนวยการเรื่องการนอนหลับ ของโรงพยาบาลเด็กในบอสตัน กล่าวว่า เด็กในช่วงอายุก่อนอนุบาล จะมีนาฬิกาชีวิตที่มีผลต่อการหลั่งเมลาโทนิน เร็วกว่าในผู้ใหญ่ เพราะฉะนั้น สิ่งที่เราเรียนรู้จากผลการวิจัยนี้คือ เราควรหลีกเลี่ยง ไม่ให้เด็กได้มอง หรือ อยู่ในสภาพแสงเทียมที่สว่างแรง จากหลอดไฟ ในช่วงเวลาก่อนนอน
การทำการวิจัยเรื่องผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับนาฬิกาชีวิต โดยเฉพาะในเด็ก ยังคงจะต้องมีอย่างต่อเนื่องต่อไป เด็กที่มีผลกระทบจากการหลั่งของเมลาโทนินที่น้อยลง อาจทำให้เด็ก ดูเหนื่อยและอ่อนแรง (tired and wired) แต่ร่างกายไม่ยอมที่จะสร้างสัญญาณส่งไปยังต่อมไพเนียล เพื่อให้ร่างกายเข้าสู่การนอน
Dr. Akacen กล่าวว่า ก่อนถึงเวลานอนประมาณ 1 ชั่วโมง ผู้ปกครองควรที่จะทำบรรยากาศให้เหมาะสม โดยการไม่เปิดแสงเทียมให้สว่างเกินไป โดยการใช้ ดิมเมอร์ เพื่อให้ร่างกายหลั่งสารเมลาโทนินออกมาโดยธรรมชาติ
Dr. Owens ได้แนะนำเรื่องแสงไฟ ว่า ไม่ควรให้ส่องแสงสว่างเข้าตาเด็กโดยตรง และ การเข้านอนตรงเวลา อย่างน้อย ก่อนเวลา 21:00 เป็นเรื่องที่สำคัญต่อการพักผ่อนนอนหลับที่เพียงพอกับเด็กในวัยนี้
Dr. LeBourgeois ได้บอกว่า “ปัญหานี้เป็นปัญหาที่ป้องกันได้ โดยผู้ปกครอง และ การไม่ให้เด็กอยู่ในสภาพแสงเทียมที่สว่างจ้า เป็นหัวใจสำคัญ”
เพิ่มเติมจากผู้แปล: นอกจากแสงไฟส่องสว่างภายในบ้านแล้ว แสงสีน้ำเงินที่เกิดจากการใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิคทุกชนิด ก็ส่งผลกระทบกับการหลั่งเมลาโทนิน ไม่ว่าจะเป็นเด็กหรือผู้ใหญ่ เพราะฉะนั้น การให้เด็กเล่นหรือมองอุปกรณ์อย่างมือถือ ก็จะเกิดผลเสียตามในบทความนี้ได้
หวังว่า การแปลบทความนี้ น่าจะเป็นประโยชน์นะครับ อาจจะไม่ได้แปลทุกประโยค ถ้าขาดตกบกพร่องก็ต้องขออภัยมา ณ ที่นี้.
NuEnG Ketodaddy
7/12/2018
ที่มาของบทความ
บทความเรื่องที่นำมานำเสนอ จาก เวปไซด์ New York Times:
เอกสารการวิจัยเรื่อง
Sensitivity of the circadian system to evening bright light in preschool‐age children :
เอกสารการวิจัยเรื่อง
Melanopsin Is Highly Resistant to Light and Chemical Bleaching in Vivo :
เรียนรู้เพิ่มเติมเรื่อง เซลล์รับแสง ภาคภาษาไทย จาก wikipedia :